ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

มีผู้ออกแบบไหม?

จุลินทรีย์ที่เขมือบน้ำมัน

จุลินทรีย์ที่เขมือบน้ำมัน

ในปี 2010 แท่นขุดเจาะน้ำมันในอ่าวเม็กซิโกระเบิดและจมลงในทะเลทำให้น้ำมันดิบเกือบ 800 ล้านลิตรรั่วไหลออกมา แต่เพียงแค่ไม่กี่เดือนเท่านั้น คราบน้ำมันส่วนใหญ่ก็หายไป เป็นไปได้อย่างไร?

ลองคิดดู: งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เผยให้เห็นว่ากองทัพแบคทีเรียในน้ำทะเลสามารถทำลายโมเลกุลที่เป็นสายยาวของคาร์บอนในน้ำมันได้ ศาสตราจารย์เทอร์รี่ ฮาเซน นักจุลชีววิทยาด้านสิ่งแวดล้อมเรียกแบคทีเรียเหล่านี้ว่า จรวด “มิสไซล์ล่าน้ำมัน” แบคทีเรียเหล่านี้มีส่วนช่วยในการขจัดคราบน้ำมันในอ่าวเม็กซิโกที่กล่าวถึงตอนต้น

สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า “เรื่องนี้ไม่แปลก เพราะในมหาสมุทรมีแบคทีเรียที่ชอบกินน้ำมันอาศัยอยู่มากมาย” ที่จริง “ตามปกติแล้ว พื้นผิวใต้ท้องสมุทรเองก็มีการปล่อยน้ำมันออกมาในทะเล” ตลอดเวลา

ที่จริง แม้ว่าความพยายามของมนุษย์ที่จะขจัดคราบน้ำมันนั้นจะประสบความสำเร็จ แต่ถึงจะทำอย่างดีที่สุดแล้วความพยายามนั้นก็อาจทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี สารเคมีสำหรับขจัดคราบน้ำมันนี้จะขัดขวางกระบวนการทางธรรมชาติในการย่อยสลายคราบน้ำมัน ยิ่งกว่านั้น สารเคมีที่ว่านี้ก็กลายเป็นสารพิษและสุดท้ายก็ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม แต่ความสามารถตามธรรมชาติในการขจัดน้ำมัน รวมถึงจุลินทรีย์ที่กินน้ำมัน จะช่วยฟื้นฟูทะเลให้กลับสู่สภาพเดิมได้เองโดยไม่มีผลเสียหายอย่างที่มนุษย์ทำ *

คุณคิดอย่างไร? การที่มีจุลินทรีย์เหล่านี้ในทะเลเป็นเรื่องบังเอิญ หรือมีผู้ออกแบบ?

^ วรรค 6 ตอนนี้ยังเร็วเกินกว่าที่จะบอกได้ว่าอุบัติเหตุในอ่าวเม็กซิโกครั้งนั้นจะเกิดผลกระทบในระยะยาวอย่างไรต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล